4.สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนวัดสามประชุม
(รับระดับอนุบาล ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
2. โรงเรียนวัดโบสถ์ประชานุกูล
(รับระดับอนุบาล ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ
ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ (กศน.บางระกำ) 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางระกำ 1 แห่ง
รูป รพสต.บางระกำ
4.3 อาชญากรรม
-
4.3 ยาเสพติด
-
4.4 การสังคมสงเคราะห์
1. องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ มีผู้สูงอายุได้รับการสงเคราะห์ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 519 ราย
2. องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ มีผู้พิการโดยรับการสงเคราะห์ได้รับเงินช่วยเหลือ เบี้ยความพิการ จำนวน 87 ราย
5.ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การไฟฟ้า
มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน
5.2 การประปา
มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-7
5.3 โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
5.4 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอโพธิ์ทอง
6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ ปลูกพืชผัก เป็นอาชีพหลัก รองลงมาอาชีพรับจ้างทั่วไป, รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม, ค้าขาย
มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่นกลุ่มจักสานไม้ไผ่ , กลุ่มจักสาน , หวาย , กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ , กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลบางระกำ, กลุ่มแม่บ้านเกษตรบางระกำ, กลุ่มแปรรูปขนม หมู่ 2, กลุ่มน้ำพริกหมู่ 5,7
6.2 การประมง
ไม่มีการทำประมง
6.3 การปศุสัตว์
ตำบลบางระกำ มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงเป็ด
6.4 การท่องเที่ยว
1. โบราณสถานวัดสามประชุม หมู่ที่ 3
2. โบราณสถานวัดโบสถ์ฯ หมู่ที่ 5
3. โบราณสถานวัดช่องลม (วัดร้าง) หมู่ที่ 5
6.5 อุตสาหกรรม
ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่
6.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1. กลุ่มปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7
2. เครื่องจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4
3. กลุ่มจักสานพลาสติก หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6
4. กลุ่มแปรรูปขนม หมู่ที่ 2
5. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลบางระกำ (ทำขนม) หมู่ที่ 3
6. กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ หมู่ที่ 6
6.7 แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ข้าวโพด ปลูกหอมแดงและกระเทียมรวมทั้งปลูกขิงที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลด้านการเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ข้าวโพด ปลูกหอมแดงและกระเทียมรวมทั้งปลูกขิง
7.2 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำน้อย
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-7
8.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชาชน หมู่ที่ 1-7 นับถือศาสนาพุทธ
วัด มีจำนวน 2 วัด ได้แก่
1. วัดสามประชุมฯ
2. วัดโบสถ์ราษฎร์ศรัทธา
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
เนื่องจากประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงได้มีการสืบทอด ธำรงรักษาและประพฤติตนเป็นพุทธมากะ มีการทำบุญตักบาตร เข้าวัดทำบุญ ถือศีลฟังธรรม การเวียนเทียน การถวายเทียนพรรษา การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ในวันสำคัญทางศาสนา
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วย , ลำน้ำ 3 สาย
บึง , หนองน้ำ 3 แห่ง
ลำเหมือง - สาย
อ่างเก็บน้ำ - แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย - แห่ง
บ่อน้ำตื้น - แห่ง
บ่อโยก - แห่ง
ระบบประปาหมูบ้าน 5 แห่ง
ระบบประปาภูเขา - แห่ง
ถังเก็บน้ำฝน - แห่ง
9.2 ป่าไม้
พื้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าไม้
|
|